วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

จังหวัดตาก เป็นจังหวัดในภาคกลางตอนบนหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคตะวันตก ของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีอาณาเขตติดต่อถึง 9 จังหวัด
ประวัติศาสตร์
เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
ภูมิศาสตร์
จังหวัดตาก ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ มากที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วย 9 จังหวัด และ 1 ประเทศ ดังนี้
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด


ประวัติเขื่อนภูมิพล
เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรก ของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี  ต่อมาเมื่อวันที่ 25  กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระปรมาภิไธย ให้เป็นชื่อ เขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษะของเขื่อน เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย  และ เอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลกสร้างปิดกั้น ลำน้ำปิง ที่ บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250   เมตร สูง154 เมตร ยาว486เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้าซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่17 พฤษภาคมและ15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่17 พฤษภาคม 2507 ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ 11 พฤษภาคม วันที่ 9 สิงหาคม 2510 วันที่25ตุลาคม วันที่ 19 สิงหาคม 2512และวันที่18 ตุลาคม 2525 ตามลำดับ


เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง
เป็นเขื่อนขนาดเล็กชนิดดินถมแกนดินเหนียวปิดทับ ด้านหน้าหินทิ้ง สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 กิโลเมตร ความยาวเขื่อน 200 เมตร สูง 12 เมตรจากท้องน้ำ ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 4.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2538
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2538 เขื่อนภูมิพลและเขื่อนแม่ปิงตอนล่างสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์จนกระทั่งปัจจุบันนี้

ผาสามเงา อยู่ในตำบลย่านรี จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 1107 (เจดีย์ยุทธหัตถี-เขื่อนภูมิพล) ผ่านทางแยกไปเจดีย์ยุทธหัตถีประมาณ 25 กิโลเมตร หรือถ้าใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 463 จะมีทางแยกซ้ายเข้าเขื่อนภูมิพลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงอำเภอสามเงา ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง จะมองเห็นขุนเขาใหญ่ลูกหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ผาสามเงา" เพราะเป็นที่เชิงเขาริมหน้าผานั้นเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อภูเขาเรียงกัน 3 ช่อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองช่องละองค์ มีบันไดไม้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปได้


จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.1206 มีพระฤาษีสององค์สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และให้คนมาทูลเชิญราชวงศ์กษัตริย์จากเมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ไปครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวี ได้รับมอบหมายให้ไปครองเมืองตามคำเชิญ พระนางจึงเสด็จมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำน้ำปิงปรากฏว่าเมื่อมาถึงบริเวณหน้าผาแห่งนี้เกิดเหตุมหัศจรรย์มีฝนและพายุใหญ่พัดกระหน่ำจนเรือไม่สามารถแล่นทวนน้ำขึ้นไปได้และปรากฏเงาพระพุทธรูปสามองค์ที่หน้าผาริมน้ำปิงแห่งนี้ พระนางจึงสั่งให้เจาะหน้าผาและสร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในช่อง ช่องละองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "ผาสามเงา" สืบมา




น้ำตกทีลอซู


น้ำตกทีลอซ ูเกิดจากลำห้วยกล้อท้อไหลมาจากผืนป่าบริเวณทิศตะวัตตกติดชายเแดนพม่า ลำน้ำทั้งสายตกลงจากหน้าผาสูงกลางป่าทึบของป่าทุ่งใหญ่ในเขตพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นน้ำตกที่ยิ่งใหญ่มีชื่อว่า น้ำตก ทีลอซู   มีความสูงประมาณ 300 เมตร เมื่อภาพความสวยงามและยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซูปรากฎสู่สายตาแก่นักท่องเที่ยวจึงทำให้ชื่อเสียงของทีลอซูโด่งดังในเวลาอันรวดเร็ว ผู้คนมากมายต่างได้ยินเรื่องราวความยิ่งใหญ่ของน้ำตกทีลอซู ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมากมายได้เข้าไปสัมผัสแล้วกลับมาบอกเล่าถึงความสวยงาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่น้ำตกทีลอซูที่เคยยิ่งในใหญ่ครั้งนั้นหดหายไปบ้างเนื่องจากเกิดหน้าผาถล่มเพราะฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน  ปริมาณน้ำมีมาก หน้าผารับน้ำหนักไม่ไหวจึงถล่มพังลงมา นั่นเป็นเวลาที่ผ่านมานานแล้ว ถึงแม้หน้าผาน้ำตกจะถล่มไปแล้วถึงสองครั้งแต่ความสวยงามของที่ลอซูที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ยังสวยงามเกินพอที่นักท่องเที่ยวจะได้เข้าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต
ปัจจุบัน น้ำตก ทีลอซู อยู่ในพื้นที่การดูแลของเขตรักษาพันธุ์ป่าอุ้มผาง  น้ำตกทีลอซูไม่ใช่อุทยานแห่งชาติ เป็นเพียงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งมีกฎระเบียบการเข้าไปในพื้นที่เคร่งครัด จุดประสงค์เพื่อปกป้องป่าไว้ไม่ให้ถูกทำลายจากการเข้าไปของมนุษย์ 
แต่ก่อนนั้นการเดินทางเข้าไปยากลำบาก ต้องล่องแพไม้ไผ่เข้าไปจนถึงจุดหนึ่งซึ่งต้องขึ้นบกและเดินเท้าเข้าไปด้วยความยากลำบาก ต่อมาเริ่มมีถนนดินตัดเข้าไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ แต่เส้นทางก็เพียงถนนดิน เมื่อถึงฤดูฝนถนนก็จะชำรุดเสียหายยากต่อการเดินทาง  ปัจจุบันความยากลำบากของการเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูกลายเป็นตำนานเพราะเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงเส้นทางใหญ่ ทำเป็นถนนลูกรังอัดแน่นอย่างดีมิใช่เส้นทางที่มีแต่หล่มโคลนเหมือนแต่ก่อน ถึงแม้ถนนดีเดินทางเข้าไปง่ายแต่ความเป็นธรรมชาติยังคงถูกรักษาไว้ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด ถนนเข้าน้ำตกทีลอซูจะถูกปิดในช่วงฤดูฝนและจะเปิดให้เข้าอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน การเข้าไปชมน้ำตกไม่สามารถนำอาหาร ขนม และขวดน้ำเข้าไปได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่นำติดตัวไปจะต้องฝากไว้ที่จุดตรวจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้น้ำตกทีลอซูยังคงสะอาดปราศจากขยะ


การเดินทาง


การล่องแพยังเป็นการเดินทางที่เป็นอมตะสำหรับการเดินทางในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เริ่มฤดูฝนไปจนถึง 1 พฤศจิกายน  เส้นทางเข้าทีลอซูถูกปิด การเดินทางเดียวที่ทำได้คือการล่องแพ  แต่ก่อนใช้แพไม้ไผ่แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เรือยางลำใหญ่ปลอดภัยกว่าและยังเป็นการอนุรักษ์ จากตัวเมืองอุ้มผางจะต้องลงเรือยางล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง ผ่านบ่อน้ำร้อนและแก่งต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือผ่านมีทัศนียภาพที่สวยงามและยังคงเป็นธรรมชาติมากๆ เมื่อล่องมาถึงครึ่งทางนักท่องเที่ยวก็จะได้เห็นความสวยงามของน้ำตกทีลอจ่อที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงลงสู่ลำน้ำแม่กลอง ถัดจากนั้นมาไม่ไกลก็จะผ่านน้ำตกสายรุ้ง หากเดินทางไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดจากแสงที่ตกกระทบกับละลองน้ำของสายน้ำตก นอกจากนี้ยังมีน้ำตกริมทางให้ได้หยุดแวะเล่นน้ำกันอีกด้วย  ระยะเวลาสำหรับการล่องเรือยางประมาณ 3-4 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสน้ำในแต่ละช่วงเวลา   เมื่อขึ้นจากเรือยางจะต้องเดินเท้าต่อไปยังจุดกางเต็นท์พักแรมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร  ประมาณ 1 กิโลเมตรแรกเป็นเส้นทางเดินผ่านป่า ช่วงที่เหลือเป็นถนนลูกรังอัดแน่น  สภาพเส้นทางมีขึ้นเนินเป็นบางช่วงโดยเฉพาะช่วงแรกๆ จะเป็นการเดินขึ้นเนินเป็นส่วนใหญ่ ช่วงกลางและท้ายจะเป็นทางลงเนิน  วันถัดมาจึงจะได้ชื่นชมกับความงามของน้ำตกทีลอซู  ตอนเดินทางกลับก็จะต้องเดินย้อนกลับมาตามเส้นทางเดิมเพื่อกลับมาลงเรือยางล่องต่อไปยังจุดที่ลำน้ำบรรจบกับถนน แล้วขึ้นรถกลับสู่รีสอร์ที่พัก
สำหรับการเดินทางในช่วงเวลาที่ถนนเปิดให้รถเข้าจะมีการเดินทางเป็น 2 แบบ  ส่วนใหญ่จะนิยมล่องเรือยางไปยังจุดที่ขึ้นบก จากนั้นก็ขึ้นรถต่อไปยังจุดกางเต็นท์  ขากลับก็นั่งรถกลับตรงไปยังรีสอร์ที่พักในตัวเมืองอุ้มผาง สบายๆ ไม่ต้องเดิน  แต่ช่วงเวลานั้นจะมีนักท่องเที่ยวมากในช่วงวันหยุดโดยเฉพาะวันหยุดเทศกาล ถ้าหากไปในช่วงเวลาดังกล่าวก็ต้องยอมรับสภาพว่าบรรยากาศของการแค้มปิ้งพักแรมไม่ค่อยดีเท่าไร
อีกแบบหนึ่งสำหรับผู้มีเวลาน้อยและนิยมประหยัด คือการขับรถรวดเดียวจากตัวเมืองอุ้มผางไปยังจุดกางเต็นท์ จากนั้นเดินเท้าเข้าไปเที่ยวน้ำตกแล้วขับรถกลับ
ถึงแม้ช่วงเวลานั้นเส้นทางจะเปิด นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถเข้าไปได้แต่การล่องเรือยางเป็นการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากที่สุดเกือบ 99% ทั้งนี้เพราะการล่องเรือยางเป็นรสชาติของการเดินทางไปน้ำตกทีลอซู เหมือนการเดินทางในรุ่นแรกเริ่ม และนักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของบรรยากาศป่าเขาริมทาง เป็นการเดินทางที่คุ้มค่า












น้ำตกพาเจริญ
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก และตั้งอยู่ริมทางหลวงไม่ไกลจากเมืองแม่สอด จึงเป็นจุดที่นิยมแวะมาท่องเที่ยวและพักผ่อน อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประกอบไปด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา มีเนื้อที่ประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร
ด้วยกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ท้องที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2535 ประกอบด้วยกรมป่าไม้ได้ พิจารณาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าบริเวณต่างๆ กำลังถูกทำลาย และยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 937/2536 ให้นายธารากร อุดมธรรม เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ปฏิบัติงานประจำและทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องแคบ และป่าแม่โกนเกน ท้องที่จังหวัดตาก และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีสภาพเหมาะสมเป็นอุทยานแห่งชาติ จากรายงานการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เรื่องการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด ตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมที่จะจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ต่อมากรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งให้สำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยกำหนดให้พื้นที่ป่าทั้งหมดในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด และตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติ”
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนวางตัวไปตามแนวเหนือใต้ มีพื้นที่ราบเล็กน้อยตามเขตลำน้ำ ยอดเขาสูงเด่นในพื้นที่มีดอยป่าตาล ดอยเด่นกระทิง ดอยหลวง ดอยหมากหมื่น เขาลมพักเย็น เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางทิศใต้สูงถึง 1,765 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี จึงเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา ห้วยอุ้มเปี้ยม ที่มีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ มีลำห้วยหลายสายที่มีต้นกำเนิดจากพื้นที่นี้ไหลสู่พื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ เช่น ห้วยแม่สอด ห้วยแม่ดาว ห้วยผักกูด ฯลฯ
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศส่วนใหญ่จึงมีอากาศเย็นสบาย แบ่งตามฤดูกาลได้ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มจากเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด เพราะเป็นที่สูงมีลมพัด ฤดูหนาวไม่หนาวมาก วัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 6 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดฤดู ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตร/ปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าทั่วไปยังคงสมบูรณ์ ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าบางส่วนเป็นป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ สนเขา มะม่วงป่า เต็งรัง เหียง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะค่าแต้ แดง ยมหอม ยมหิน ฯลฯ ไม้พื้นล่าง เช่น เฟิร์น บอนป่า กระเจียวป่า เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจพบว่ามีหลายชนิดเช่น กระทิง กวาง เก้ง หมี นกชนิดต่างๆ เสือ หมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า งูชนิดต่าง ๆ เม่น อีเห็น ชะนี ลิง กระจง หมาป่า ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ทางใต้ติดกับอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และสหภาพพม่า